การยกร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นให้ถูกต้องตามขอบเขตของกฎหมายเพื่อการบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
- วันที่อบรม 26 – 27 มิถุนายน 2568 เวลา 09.00–16.00 น. ณ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ค่าลงทะเบียน 3,900 บาท
- สมัครภายใน 30 มี.ค. 68 ลดเหลือ 3,500 บาท
- เปิดรับสมัคร รุ่นที่ 1 ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2568
เกี่ยวกับหลักสูตร
ชื่อหลักสูตรอบรม
หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ “การยกร่างข้อบัญญัติท้องถิ่น ให้ถูกต้องตามขอบเขตของกฎหมาย เพื่อการบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ”
หลักการและเหตุผล
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญในการบริหารและพัฒนาท้องถิ่นให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่ หนึ่งในกลไกสำคัญที่ช่วยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพคือ “ข้อบัญญัติท้องถิ่น” ซึ่งเป็นกฎหมายลำดับรองที่ออกโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายใต้กรอบอำนาจที่กฎหมายบัญญัติไว้ อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติพบว่าการยกร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นมีความซับซ้อนและมักประสบปัญหาทางเทคนิค ทั้งในแง่ของการกำหนดเนื้อหาให้สอดคล้องกับกฎหมายแม่บท โครงสร้างที่ถูกต้อง และการใช้ภาษากฎหมายที่เหมาะสม ส่งผลให้บางครั้งข้อบัญญัติที่ออกมาขาดประสิทธิภาพในการบังคับใช้ หรืออาจขัดต่อหลักกฎหมายและถูกเพิกถอนในภายหลัง
เพื่อลดปัญหาดังกล่าวและส่งเสริมให้ข้อบัญญัติท้องถิ่นมีความสมบูรณ์ ถูกต้อง และสามารถนำไปใช้ได้จริง คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ตระหนักถึงความสำคัญของการยกร่างกฎหมายลำดับรองที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ จึงได้พัฒนาหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ “การยกร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นให้ถูกต้องตามขอบเขตของกฎหมาย เพื่อการบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ รุ่นที่ 1” เพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการร่างกฎหมายลำดับรองที่ถูกต้อง ครอบคลุม และสามารถนำไปใช้ได้จริง โดยหลักสูตรนี้ได้รับการออกแบบให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญ เช่น
- ความเชื่อมโยงระหว่างกฎหมาย ร่างข้อบัญญัติท้องถิ่น และบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- ที่มาและความสำคัญของกฎหมายลำดับรอง ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายแม่บทและอนุบัญญัติ
- หลักการยกร่างกฎหมายลำดับรอง โครงสร้างของกฎหมาย และภาษากฎหมายที่ถูกต้อง
- แนวทางการจัดทำข้อบังคับ ระเบียบ และประกาศให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายและความต้องการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
นอกจากนี้ หลักสูตรยังเน้นการอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ฝึกฝนการยกร่างข้อบังคับ ระเบียบ หรือประกาศในสถานการณ์จริง โดยได้รับคำแนะนำจากคณะวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และคณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการร่างกฎหมายที่มีประสบการณ์และมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายในการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ดังนั้น เพื่อให้บุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเกี่ยวข้องกับการออกกฎหมายลำดับรอง มีความรู้ความสามารถในการยกร่างกฎหมาย อันจะส่งผลให้การปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบรรลุวัตถุประสงค์ของการบริหารราชการแผ่นดินที่ดี มีประสิทธิภาพ ถูกต้องตามหลักนิติธรรม และหลัก
ธรรมาภิบาล จึงได้จัดหลักสูตรการยกร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นให้ถูกต้องตามขอบเขตของกฎหมาย เพื่อการบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเพื่อเพิ่มทักษะแก่ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดังกล่าว
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำและยกร่างกฎหมาย การตรวจมีความรู้ ความเข้าใจ หลักการยกร่างกฎหมายลำดับรอง
- เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถร่างกฎหมายลำดับรองได้อย่างถูกต้องตามขอบเขตที่กฎหมายกำหนดและมีประสิทธิภาพ ตามรูปแบบของกฎหมาย โครงสร้างของกฎหมาย และภาษากฎหมาย
- เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ที่คาดจะได้รับ
- ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการยกร่างกฎหมายลำดับรองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความรู้ความเข้าใจในหลักการยกร่างกฎหมายลำดับรอง
- ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถยกร่างกฎหมายลำดับรองได้อย่างถูกต้องตามขอบเขตที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้การใช้อำนาจในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายลำดับรองเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย
- เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้านการร่างข้อบัญญัติท้องถิ่น
รูปแบบกิจกรรมและเนื้อหา
- รูปแบบ
- การบรรยาย
- กรณีศึกษา
- การฝึกปฏิบัติ
- เนื้อหา
- หลักการในการยกร่างระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ
- รูปแบบ Format ในการเขียน
- ภาษา การเขียนในทางกฎหมาย
- ความเชื่อมโยงของระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายที่สูงกว่า
- ข้อควรระวังและปัญหาที่พบบ่อยในการยกร่าง
เนื้อหาการอบรม
- ความเชื่อมโยงระหว่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารราชการกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (กฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายการคลัง และกฎหมายเฉพาะอื่น ๆ)
- ที่มาของอนุบัญญัติ : ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายแม่บทและอนุบัญญัติ
- หลักการยกร่างอนุบัญญัติ และโครงสร้างของอนุบัญญัติ
กลุ่มเป้าหมายผู้เข้ารับการอบรม
บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 60 คน
ค่าลงทะเบียน
- ค่าลงทะเบียน 3,900 บาท
- สำหรับผู้สมัครที่ชำระค่าลงทะเบียนก่อนวันที่ 30 มีนาคม 2568 ลดเหลือ 3,500 บาท
ค่าลงทะเบียนรวมค่าเอกสารประกอบการอบรม ค่าอาหารกลางวัน ค่าอาหารว่าง และค่าใบรับรองผ่านการอบรมแล้ว
การชำระค่าธรรมเนียม
สามารถโอนเงินเข้า บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ธนาคารกรุงเทพ สาขาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ชื่อบัญชี “สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สำนักสิริพัฒนา”
เลขที่บัญชี 944-0233972
หลังจากการโอนเงินแล้วให้ส่งสำเนาหลักฐานการโอนเงิน (ระบุรายละเอียดในการออกใบเสร็จรับเงินประกอบด้วยชื่อหน่วยงานหรือชื่อบุคคล และที่อยู่) มาที่ Email: lawnidatraining@nida.ac.th
** เมื่อชำระค่าลงทะเบียนแล้ว ขอสงวนสิทธิในการคืนเงินทุกกรณี
** ในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนแปลงผู้เข้าอบรม สามารถแจ้งรายชื่อได้ภายในวันที่ 31 เมษายน 2568 และขอจำกัดสิทธิในการเปลี่ยนผู้เข้าอบรมได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น
การประเมินผลเพื่อรับประกาศนียบัตร
- ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องมีสัดส่วนการเข้าอบรมไม่น้อยกว้าร้อยละ 80 ของระยะเวลาอบรม
- ต้องเข้าร่วมการฝึกภาคปฏิบัติ
ผู้บริหารโครงการ
- ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.วรรณชัย บุญบำรุง
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัชรวรรณ นุชประยูร
ติดต่อสอบถาม
- คุณกิตติกา โกศลจิตร (เมย์) โทร. 0-2727-3660 / 095-2549657
- Line Official : @LawNIDA