การยกร่างข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศในสถาบันอุดมศึกษาให้ถูกต้องตามขอบเขตของกฎหมาย เพื่อการบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
- วันที่อบรม 29-30 พฤษภาคม 2568 เวลา 09.00–16.00 น. ณ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ค่าลงทะเบียน 3,900 บาท
- สมัครภายใน 15 มี.ค. 68 ลดเหลือ 3,500 บาท
- เปิดรับสมัคร รุ่นที่ 1 ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 31 เมษายน 2568
เกี่ยวกับหลักสูตร
ชื่อหลักสูตรอบรม
หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ “การยกร่างข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศในสถาบันอุดมศึกษาให้ถูกต้องตามขอบเขตของกฎหมาย เพื่อการบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ“
หลักการและเหตุผล
กฎหมายเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารประเทศและกำหนดแนวทางในการดำเนินงานของภาครัฐ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ “สถาบันอุดมศึกษา” ในฐานะองค์กรที่มีบทบาทสำคัญด้านการศึกษา วิจัย การบริการวิชาการ และการพัฒนากำลังคนของประเทศ จำเป็นต้องมีกฎหมายเป็นกลไกในการกำกับดูแล การดำเนินงาน และการบริหารองค์กรให้เป็นไปตามหลักนิติธรรมและหลักธรรมาภิบาล
“กฎหมายลำดับรอง” เช่น ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือบทบัญญัติที่มีสภาพบังคับเป็นการทั่วไป ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในกฎหมายแม่บท หรือที่เรียกว่า กฎ หรืออนุบัญญัติ ถือเป็นเครื่องมือสำคัญ ที่ช่วยกำหนดรายละเอียดของการปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับ กฎหมายแม่บทหรือกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ อย่างไรก็ตาม การยกร่างกฎหมายลำดับรองจำเป็นต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ทั้งในด้านหลักกฎหมาย โครงสร้างของกฎหมาย และภาษากฎหมาย เพื่อให้สามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดปัญหาความขัดแย้ง และป้องกันข้อพิพาททางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ในปัจจุบัน สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และสถาบันอุดมศึกษาเอกชนต่างต้องออกข้อบังคับ ระเบียบ และประกาศต่าง ๆ เพื่อรองรับการบริหารงานในหลากหลายด้าน เช่น การจัดการศึกษา การบริหารงานบุคคล การวิจัยและบริการวิชาการ การเงินและงบประมาณ ตลอดจนการควบคุมคุณภาพการศึกษา หากการร่างกฎหมายลำดับรองขาดความรอบคอบหรือไม่เป็นไปตามหลักกฎหมาย อาจนำไปสู่ความไม่สอดคล้องกับกฎหมายแม่บท การตีความที่คลาดเคลื่อน ความไม่ชัดเจนในการบังคับใช้ หรือปัญหาข้อพิพาททางกฎหมาย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาและผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาได้
คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ตระหนักถึงความสำคัญของการยกร่างกฎหมาย ลำดับรองที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ จึงได้พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมนี้ขึ้นเพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องในสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการร่างกฎหมายลำดับรอง ที่ถูกต้อง ครอบคลุม และสามารถนำไปใช้ได้จริง หลักสูตรนี้ได้รับการออกแบบให้ครอบคลุมหัวข้อสำคัญ เช่น
- ความเชื่อมโยงระหว่างกฎหมายจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษา การปฏิรูปการอุดมศึกษา และบทบาทของสถาบันอุดมศึกษา
- ที่มาและความสำคัญของกฎหมายลำดับรอง ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายแม่บทและอนุบัญญัติ
- หลักการยกร่างกฎหมายลำดับรอง โครงสร้างของกฎหมาย และภาษากฎหมายที่ถูกต้อง
- แนวทางการจัดทำข้อบังคับ ระเบียบ และประกาศให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายและความต้องการของสถาบันอุดมศึกษา
นอกจากนี้ หลักสูตรยังเน้นการอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ฝึกฝนการยกร่างข้อบังคับ ระเบียบ หรือประกาศในสถานการณ์จริง โดยได้รับคำแนะนำจากคณะวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และคณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการร่างกฎหมายที่มีประสบการณ์และมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายในการบริหารงานสถาบันอุดมศึกษา
ด้วยเหตุนี้ หลักสูตรการยกร่างกฎหมายลำดับรองจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับผู้ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างถูกต้องตามขอบเขตของกฎหมาย ส่งเสริมธรรมาภิบาล ความโปร่งใส และประสิทธิภาพในการบริหารงาน อันจะนำไปสู่การพัฒนาระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้มีความมั่นคง ทันสมัย และสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำและยกร่างกฎหมาย การตรวจมีความรู้ ความเข้าใจ หลักการยกร่างกฎหมายลำดับรอง
- เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษาสามารถร่างกฎหมายลำดับรองได้อย่างถูกต้องตามขอบเขตที่กฎหมายกำหนดและมีประสิทธิภาพ ตามรูปแบบของกฎหมาย โครงสร้างของกฎหมาย และภาษากฎหมาย
- เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษาสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ที่คาดจะได้รับ
- ผู้ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการยกร่างกฎหมายลำดับรองของสถาบันอุดมศึกษา มีความรู้ความเข้าใจในหลักการยกร่างกฎหมายลำดับรอง
- ผู้ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษาสามารถยกร่างกฎหมายลำดับรองได้อย่างถูกต้องตามขอบเขตที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้การใช้อำนาจในการบริหารงานของสถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายลำดับรองเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย
- เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้านการร่างกฎหมายในสถาบันอุดมศึกษา
- ได้ฝึกปฏิบัติในการยกร่างกฎหมายลำดับรองและพัฒนาทักษะในการทำงานด้านกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
รูปแบบกิจกรรมและเนื้อหา
- รูปแบบ
- การบรรยาย
- กรณีศึกษา
- การฝึกปฏิบัติ
- เนื้อหา
- หลักการในการยกร่างข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ
- รูปแบบ Format ในการยกร่างกฎหมายลำดับรอง
- ภาษา การเขียนในทางกฎหมาย
- ความเชื่อมโยงของข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศและกฎหมายที่สูงกว่า
- ข้อควรระวังและปัญหาที่พบบ่อยในการยกร่าง
เนื้อหาการอบรม
- ความเชื่อมโยงระหว่างกฎหมายจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษา การปฏิรูปการอุดมศึกษา และสถาบันอุดมศึกษา
- ที่มาของอนุบัญญัติ : ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายแม่บทและอนุบัญญัติ
- หลักการยกร่างอนุบัญญัติ และโครงสร้างของอนุบัญญัติ
กลุ่มเป้าหมายผู้เข้ารับการอบรม
บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐ เอกชน และมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษา จำนวน 60 คน
ค่าลงทะเบียน
- ค่าลงทะเบียน 3,900 บาท
- สำหรับผู้สมัครที่ชำระค่าลงทะเบียนก่อนวันที่ 15 มีนาคม 2568 ลดเหลือ 3,500 บาท
ค่าลงทะเบียนรวมค่าเอกสารประกอบการอบรม ค่าอาหารกลางวัน ค่าอาหารว่าง และค่าใบรับรองผ่านการอบรมแล้ว
การประเมินผลเพื่อรับประกาศนียบัตร
เงื่อนไขการประกาศนียบัตรผ่านการอบรมจากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มีดังนี้
- ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องมีสัดส่วนการเข้าอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของระยะเวลาอบรม
- ต้องเข้าร่วมการฝึกภาคปฏิบัติ
ผู้บริหารโครงการ
- ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.วรรณชัย บุญบำรุง
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัชรวรรณ นุชประยูร
ติดต่อสอบถาม
- คุณกิตติกา โกศลจิตร (เมย์) โทร. 0-2727-3660 / 095-2549657
- Line Official : @LawNIDA