การนำเสนอในรูปแบบบทความวิจัย บทความวิชาการ
1. เงื่อนไขสำหรับการส่งบทความ
1.1 ผู้นำเสนอจัดทำบทความตามรูปแบบที่งานประชุมกำหนด
1.2 บทความทุกบทความจะได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิตามความเชี่ยวชาญ
1.3 กรณีมีการแก้ไขบทความตามคำแนะนำของคณะกรรมการ ผู้นำเสนอต้องดำเนินการแก้ไข และส่งกลับมาภายในวัน-เวลาที่กำหนด เพื่อยืนยันสิทธิการเข้าร่วมนำเสนอผลงาน
1.4 บทความที่นำเสนอต้องมีรูปแบบตามที่กำหนด และไม่เคยตีพิมพ์หรือนำเสนอที่ใดที่หนึ่งมาก่อน กรณีตรวจสอบพบผู้นำเสนอจะถูกตัดสิทธิทันที
2. รูปแบบการนำเสนอ (Presentation)
2.1 นำเสนอด้วย PowerPoint โดยใช้แบบอักษรมาตรฐาน
2.2 PowerPoint ควรมีความครอบคลุมและสามารถนำเสนอได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด
2.3 ผู้นำเสนอมีระยะเวลานำเสนอ 15 นาที
3. รายละเอียดบทความ
รายการ | คำอธิบาย |
---|---|
3.1 ชื่อเรื่อง / Title | ระบุชื่อเรื่องทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ โดยมีความหมายที่สอดคล้องกันระหว่างภาษาไทยและภาษาอังกฤษ |
3.2 ชื่อผู้เขียน และ Author (s) | ระบุชื่อผู้แต่งทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่ควรระบุตำแหน่งทางวิชาการ ยศ หรือคำหน้า |
3.3 ระบุชื่อหน่วยงานที่ผู้แต่งสังกัด | ระบุชื่อหน่วยงานที่ผู้แต่งสังกัด โดยเรียงจากหน่วยงานระดับต้นไปจนถึงหน่วยงานหลัก และอีเมลเจ้าของผลงาน |
3.4 บทคัดย่อ / Abstract | มีความสอดคล้องกัน ทั้งนี้ต้องไม่ความยาวไม่เกิน 250 คำ ระบุคำสำคัญ และ Keywords จำนวนไม่เกิน 5 คำ โดยคำจัดกัดความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษต้องมีความหมายตรงกัน และมีความสอดคล้องกับเนื้อหาของบทความวิจัย ชื่อหัวข้อของคำสำคัญ ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 15 พอยต์ ตัวหนาโดยภาษาไทยใช้คำว่า “คำสำคัญ” และภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Keywords” |
3.5 เนื้อหา / Content | ประกอบด้วยส่วนของบทนำ เนื้อหา และสรุปกรณีมีตารางหรือภาพประกอบ (1) ให้ระบุชื่อตาราง, รูปภาพ หรือแผนภาพ ด้านบนของตาราง, รูปภาพ หรือแผนภาพ และใส่หมายเลขกำกับตาราง, รูปภาพ หรือแผนภาพ โดยเรียงลำดับการนำเสนอตามเนื้อหา (2) หากเป็นตาราง, รูปภาพ หรือแผนภาพที่อ้างอิงมาจากแหล่งข้อมูลอื่น ให้อ้างอิงที่มาโดยใช้การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา (In-text citation) แสดงไว้ใต้ตาราง, รูปภาพ หรือ แผนภาพ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ (3) หากมีหมายเหตุประกอบตาราง, รูปภาพ หรือแผนภาพ กำกับใต้ที่มาของตาราง, รูปภาพ หรือแผนภาพ |
3.6 รูปแบบการพิมพ์ | (1) ชื่อเรื่อง (Title) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 16 พอยต์ ตัวหนา ตำแหน่งตรงกลาง (2) ชื่อ นามสกุล ผู้เขียน (Author) และสังกัด/หน่วยงาน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 14 พอยต์ ตำแหน่งตรงกลาง (3) ชื่อสถานที่ทำงาน หน่วยงาน (Affiliation) และอีเมล (E-mail) ของผู้แต่งทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK 14 พอยต์ ตำแหน่งตรงกลาง (4) บทคัดย่อ (Abstract) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยอธิบาย เป็นเรียงความย่อหน้าเดียวที่มีใจความครบถ้วน อันประกอบด้วย วัตถุประสงค์ ความสำคัญ ของบทความ และบทสรุป ชื่อหัวข้อของบทคัดย่อ ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 15 พอยต์ ตัวหนา โดยภาษาไทยใช้คำว่า “บทคัดย่อ” และภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Abstract” (5) คำสำคัญ (Keyword) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK จำนวนไม่เกิน 5 คำ ชื่อหัวข้อของคำสำคัญ ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 15 พอยต์ ตัวหนา ตำแหน่งชิดซ้าย โดยภาษาไทยใช้คำว่า “คำสำคัญ” และภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Keywords (6) หัวเรื่อง (Heading) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 15 พอยต์ ตัวหนา ตำแหน่งชิดซ้าย (7) หัวข้อย่อย (Sub heading) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 15 พอยต์ ตัวหนาและเอน ตำแหน่งชิดซ้าย (8) เนื้อหา (Article) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 15 พอยต์ (9) ข้อความในตาราง (Text in the table) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 14 พอยต์ (10) ข้อความในเชิงอรรถ ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 14 พอยต์ (11) ข้อความในบรรณานุกรม ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 15 พอยต์ |
4. การอ้างอิงเชิงอรรถ
4.1 ประเภทเอกสาร : หนังสือ
หมายเลขอ้างอิง ผู้แต่ง, ชื่อเรื่อง, ครั้งที่พิมพ์(กรณีพิมพ์มากกว่า 1 ครั้ง), ชื่อชุดและลำดับที่ (ถ้ามี) (สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์, ปีที่พิมพ์), เลขหน้า.
4.1.1 ผู้แต่ง (กรณีผู้แต่งคนเดียว)
1บรรเจิด สิงคะเนติ, หลักกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมฝ่ายปกครอง, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2560), 123.
4.1.2 ผู้แต่ง (กรณีผู้แต่ง 2 คน)
1รัฐพล เย็นใจมา และ สุรพล สุยะพรหม, ความขัดแย้งในสังคม: ทฤษฎีและแนวทางแก้ไข, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, 2561), 85.
4.1.3 ผู้แต่ง (กรณีผู้แต่ง 3 คน)
1วันชัย วัฒนศัพท์, ถวิลวดี บุรีกุล, และศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์, คู่มือเพิ่มพลังความสามารถ กระบวนการจัดการข้อพิพาท, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ: ศิริภัณฑ์ออฟเซต, 2550), 77-85.
4.1.4 ผู้แต่ง (กรณีผู้แต่ง 4 คน)
1ศิริกานต์ โกสุม, และคณะ, การเมืองสมัยใหม่. (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554), 7.
4.1.5 ผู้แต่งนามแฝง
1นิ้วกลม [นามแฝง]. โตเกียวไม่มีขา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: มติชน. (2557).
4.1.6 ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง
1ภูมิปัญญาชาวอีสาน. ขอนแก่น: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2557).
4.1.7 พิมพ์หลายครั้ง
1 นิทัศน์ ธีระวิทย์, นิทานคุณธรรม (60 ยอดนิทานปลูกฝังชีวิตให้ดีงาม). พิมพ์ครั้งที่ 4 (กรุงเทพฯ: สถาบันเอเซียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556), 3-5.
4.1.8 ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งสถานที่พิมพ์/สำนักพิมพ์/ปีที่พิมพ์
1วรรณกรรมเยาวชน (ม.ป.ท.: ม.ป.พ., ม.ป.ป), 15.
4.2 ประเภทเอกสาร: วารสาร
หมายเลขอ้างอิง ผู้เขียน, “ชื่อบทความ,” ชื่อวารสาร.ปีที่ ฉบับที่ (ปี), หน้า.
1ธนเนศ อาภรณ์, “ข้อสังเกตเกี่ยวกับการศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของไทย”, วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 11(2548): 35-40.
4.3 ประเภทเอกสาร: หนังสือพิมพ์
หมายเลขอ้างอิง ผู้เขียน, “ชื่อบทความ,” ชื่อคอลัมน์ (ถ้ามี), ชื่อหนังสือพิมพ์, วัน เดือน ปี, หน้า.
1 สายใจ ดวงมาลี, “สุขภาพใจ: การดูแลร่างการเมื่อเกิดความเครียด”, มติชนรายวัน, 7 มกราคม 2558, 20.
4.4 ประเภทเอกสาร : วิทยานิพนธ์
ชื่อผู้แต่งวิทยานิพนธ์, “ชื่อวิทยานิพนธ์ “ (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท-เอก, ชื่อมหาวิทยาลัย ปีที่สำเร็จการศึกษา), หน้า.
1 อมรรัตน์ อำมาตเสนา, “ความเหมาะสมของการนำวิธีการไกล่เกลี่ยมาใช้ในการระงับข้อพิพาททางปกครองในศาลปกครอง” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562), 150.
4.5 ประเภทเอกสาร : เอกสารอิเล็กทรอนิกส์
หมายเลขอ้างอิง ผู้แต่ง, “ชื่อเรื่อง,” ชื่อบล็อก, นำข้อมูลขึ้นเมื่อวันที่ วัน เดือน ปี, URL (สืบค้นเมื่อวันที่ วัน เดือน ปี).
1ปรีชา สุวรรณทัต, “Government Shutdown การเมืองเรื่องการงบประมาณของสหรัฐ,” แนวหน้า, นำข้อมูลขึ้นเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561, http://www.naewna.com/politic/columnist/33994> (สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2561).
5. บรรณานุกรม
5.1 ประเภทเอกสาร : หนังสือ
ผู้แต่ง. ชื่อเรื่อง. ครั้งที่พิมพ์ (กรณีพิมพ์มากกว่า 1 ครั้ง). ชื่อชุดและลำดับที่ (ถ้ามี). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์, ปีที่พิมพ์.
5.1.1 ผู้แต่ง (กรณีผู้แต่งคนเดียว)
บรรเจิด สิงคะเนติ. หลักกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมฝ่ายปกครอง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2560.
5.1.2 ผู้แต่ง (กรณีผู้แต่ง 2 คน)
สุมนทิพย์ จิตสว่าง และ ฐิติยา เพชรมุนี. การติดตามประเมินผลการนำระบบการควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับผู้กระทำผิด. กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม, 2559.
5.1.3 ผู้แต่ง (กรณีผู้แต่ง 3 คน)
วันชัย วัฒนศัพท์, ถวิลวดี บุรีกุล, และศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์, คู่มือเพิ่มพลังความสามารถ กระบวนการจัดการข้อพิพาท. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ศิริภัณฑ์ออฟเซต, 2550.
5.1.4 ผู้แต่ง (กรณีผู้แต่ง 4 คน)
กัญชพร จงไพศาลสถิตย์, จีรนันท์ ประกอบการ, ธนภรณ์ ศุภางคะรัตน์, ประพิณ วินิทธานันท์, รติพร วุฒิการณ์, ศิริพร อนุรักษ์แดนไทย, และ หทัยชนก มาเจริญทรัพย์. Ferrule effect. เชียงใหม่: คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2556.
5.1.5 ผู้แต่งนามแฝง
นิ้วกลม [นามแฝง]. โตเกียวไม่มีขา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: มติชน, 2557.
5.1.6 ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง
ภูมิปัญญาชาวอีสาน. ขอนแก่น: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2557.
5.1.7 พิมพ์หลายครั้ง
นิทัศน์ ธีระวิทย์. นิทานคุณธรรม (60 ยอดนิทานปลูกฝังชีวิตให้ดีงาม). พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สถาบันเอเซียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556.
5.1.8 ไม่ปรากฎสถานที่พิมพ์/สำนักพิมพ์/ปีที่พิมพ์
นิทัศน์ ธีระวิทย์. นิทานคุณธรรม (60 ยอดนิทานปลูกฝังชีวิตให้ดีงาม). พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สถาบันเอเซียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556.
5.2 ประเภทเอกสาร: วารสาร
ผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่ (ฉบับที่), หน้า.
ธนเนศ อาภรณ์. ข้อสังเกตเกี่ยวกับการศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 11(2548): 35-40.
5.3 ประเภทเอกสาร: หนังสือพิมพ์
หมายเลขอ้างอิง ผู้เขียน, “ชื่อบทความ,” ชื่อคอลัมน์ (ถ้ามี), ชื่อหนังสือพิมพ์, วัน เดือน ปี, หน้า.
สายใจ ดวงมาลี, “สุขภาพใจ: การดูแลร่างการเมื่อเกิดความเครียด”, มติชนรายวัน, 7 มกราคม 2558, 20.
5.4 ประเภทเอกสาร : วิทยานิพนธ์
ผู้เขียน. “ชื่อวิทยานิพนธ์.” ระดับวิทยานิพนธ์, ชื่อสาขาวิชาหรือภาควิชา ชื่อคณะ ชื่อมหาวิทยาลัย, ปีพิมพ์.
ขวัญเรือน ลีโคกกลาง. “การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการติดตามผู้กระทำความผิดทางอาญา กรณีศึกษาเด็กและเยาวชน.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562.
5.5 ประเภทเอกสาร : เอกสารอิเล็กทรอนิกส์
ผู้แต่ง. “ชื่อเรื่อง.” ชื่อบล็อก. นำข้อมูลขึ้นเมื่อวันที่ วัน เดือน ปี. URL (สืบค้นเมื่อวันที่ วัน เดือน ปี).
ปรีชา สุวรรณทัต. “Government Shutdown การเมืองเรื่องการงบประมาณของสหรัฐ,” แนวหน้า. นำข้อมูลขึ้นเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561, http://www.naewna.com/politic/columnist/33994> (สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2561).
Sarah Cole. “Virtual Friend Fires Employee,” Naked Law (1 May 2009): 210-215, http://www.nakedlaw.com/2009/05/index.html (accessed November 19, 2009).
6. Template บทความวาสาร
กระดาษขนาด A4 ระยะห่างระหว่างบรรทัด เป็น 1 เท่า ตั้งหน้ากระดาษแบบหน้าคู่ ระยะขอบ บน, ล่าง, ภายนอก 2.54 cm หรือ 1” ภายนอก 3.17 cm หรือ 1.5”
ชื่อบทความภาษาไทย1 (Font TH SarabunPSK 16 Pt. จัดไว้กึ่งกลาง เน้นเข้ม)
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Font TH SarabunPSK 16 Pt. จัดไว้กึ่งกลาง เน้นเข้ม)
(เว้นบรรทัด)
ชื่อ-นามสกุลผู้เขียนภาษาไทย (Font TH Sarabun PSK 14 Pt. จัดไว้กึ่งกลาง)
สังกัดผู้เขียน พร้อมที่อยู่ภาษาไทย (Font TH Sarabun PSK 14 Pt. จัดไว้กึ่งกลาง)
(เว้นบรรทัด)
ชื่อ-นามสกุลผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Font TH Sarabun PSK 14 Pt. จัดไว้กึ่งกลาง)
สังกัดผู้เขียน พร้อมที่อยู่ภาษาอังกฤษ (Font TH Sarabun PSK 14 Pt. จัดไว้กึ่งกลาง)
(เว้นบรรทัด)
E-mail: nitipat@nida.ac.th (Font TH Sarabun PSK 14 Pt. จัดไว้กึ่งกลาง)
(เว้นบรรทัด)
บทคัดย่อ (Font TH Sarabun New 15 Pt. จัดไว้กึ่งกลาง เน้นเข้ม)
บทคัดย่อ (Abstract) ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ความยาวตั้งแต่ 350 คำ แต่ไม่เกิน 500 คำ (การนับจำนวนคำถือตาม Microsoft Word เป็นสำคัญ) โดยให้คำนึงถึงหลักการ 3 ข้อ คือ (1) มีความสั้น กะทัดรัดและกระชับ (Concision) คือ เลือกเฉพาะสาระที่เป็นประเด็นใจความสำคัญของเอกสาร (2) มีความถูกต้อง (Precision) คือ สามารถถ่ายทอดประเด็น สำคัญของเอกสารได้อย่างถูกต้อง (3) มีความชัดเจน (Clarity) การเรียบเรียงถ้อยคำเพื่อเสนอในบทคัดย่อจะต้องสื่อ ความหมายให้เข้าใจชัดเจน (Font TH SarabunPSK 15 Pt. จัดชิดซ้าย)
คำสำคัญ: ระบุคำสำคัญตั้งแต่ 3 คำ แต่ไม่เกินกว่า 5 คำโดยคำสำคัญแต่ละคำให้แสดงทั้งภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษซึ่งที่มีความหมายตรงกันทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ควรเป็นคำที่แสดงเนื้อหาของงานวิจัย เพื่อช่วยในการ สืบค้นเข้าถึงงานวิจัยในเรื่องนั้น คำสำคัญควรยึดโยงกับแนวคิดที่ปรากฏในชื่อเรื่องหรือการตั้งชื่อเรื่อง หรือเกี่ยวข้องกับชื่อ เรื่องวิจัย ครอบคลุมเนื้อหา ตัวแปรที่ศึกษา หรือประชากรของงานวิจัย ควรหลีกเลี่ยงคำสามัญทั่วไปที่มีคุณค่าในการสืบค้น น้อย เช่น วิธีการ ปัญหา ลักษณะ สภาพ ระบบ
(เว้นบรรทัด)
Abstract (Font TH SarabunPSK 15 Pt. จัดไว้กึ่งกลาง เน้นเข้ม)
Abstract …. (Font TH Sarabun New 15 Pt. จัดชิดซ้าย)
Keyword: คำที่ 1, คำที่ 2, คำที่ 3, คำที่ 4, คำที่ 5
(เว้นบรรทัด)
_________________________________________________________________________
1ชื่อบทความ (Title) ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ชื่อบทความควรกระชับ ได้ใจความ ครอบคลุมสาระของบทความ ไม่ควรยาว และมีความสอดคล้อง กันระหว่างภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หากผู้เขียนประสงค์จะคงชื่อเดิมของรายงานวิจัยที่มีขนาดยาว ให้ใส่ไว้ในเชิงอรรถอธิบายหน้าเดียวกับชื่อบทความ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (Font TH Sarabun PSK 14 Pt. จัดชิดซ้าย)
6.1. เนื้อหา การอ้างอิง ภาพประกอบ (Font TH Sarabun PSK 15 Pt. จัดไว้ชิดซ้าย เน้นเข้ม)
6.1.1 จำนวนคำ (Font TH Sarabun New 15 Pt. จัดไว้ชิดซ้าย เน้นเข้ม) บทความต้องมีจำนวนคำเฉพาะในส่วนของเนื้อหา (ไม่รวมจำนวนคำในบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ไม่ต่ำกว่า 5,000 คำ (ห้าพันคำถ้วน) แต่ไม่เกินกว่า 10,000 คำ (หนึ่งหมื่นคำ) การนับจำนวนคำถือตาม Microsoft Word เป็นสำคัญ (Font TH Sarabun New 16 Pt. จัดชิดซ้าย) เนื้อหาของบทความ ควรมีคุณภาพของบทความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร โดยมี องค์ประกอบของบทความที่ง่ายต่อการอ่านบทความ รวมถึงเป็นองค์ความรู้ใหม่ในวงวิชาการ2
6.1.2 การอ้างอิง (Font TH Sarabun New 15 Pt. จัดไว้ชิดซ้าย เน้นเข้ม) การอ้างอิง ผู้เขียนให้ใช้แบบเชิงอรรถ ตาม หลักเกณฑ์ Turabian ซึ่งจะอธิบายในหัวข้อถัดไป (Font TH Sarabun New 14 Pt. จัดชิดซ้าย)
6.1.3 ข้อมูลประเภทภาพประกอบ (Font TH Sarabun New 15 Pt. จัดไว้ชิดซ้าย เน้นเข้ม) ข้อมูลประเภทภาพประกอบ แผนผัง แผนภาพ ให้แทรกระหว่างเนื้อหาและอยู่ในเนื้อหาที่อ้างอิงถึง พร้อมระบุ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้แก่ เลขลำดับ คำอธิบาย และแหล่งที่มา ด้วย (Font TH Sarabun New 14 Pt. จัดชิดซ้าย) (เว้นบรรทัด)
6.1. บทสรุป (Font TH Sarabun New 15 Pt. จัดไว้ชิดซ้าย เน้นเข้ม) (เว้นบรรทัด)
6.1. บรรณานุกรม (Font TH Sarabun New 15 Pt. จัดไว้กึ่งกลาง เน้นเข้ม) (เว้นบรรทัด)
____________________________________________________________________________
2 การอ้างอิง ผู้เขียนให้ใช้แบบเชิงอรรถ ตามหลักเกณฑ์ Turabian ซึ่งจะอธิบายในหัวข้อถัดไป (Font TH SarabunPSK 14Pt. จัดชิดซ้าย)