หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต
- หลักสูตรได้รับการรับรองจาก ก.ต. ก.อ.
- ภาคปกติ (เรียนวันจันทร์- วันศุกร์)
- ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรประมาณ 120,000.- บาท
- อยู่ระหว่างการเปิดรับสมัคร รุ่นที่ 24
- ภาคพิเศษ (เรียนวันเสาร์- วันอาทิตย์)
- ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรประมาณ 200,000.- บาท
- เปิดรับสมัคร รุ่นที่ 24 ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 16 เมษายน 2568
เกี่ยวกับหลักสูตร
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
นิติศาสตรมหาบัณฑิต (น.ม.)
Master of Laws (LL.M.)
สาขาวิชาเอกและความเชี่ยวชาญเฉพาะหลักสูตร
- สาขากฎหมายวิชาเอกกฎหมายเอกชน (Private Law)
- สาขาวิชาเอกกฎหมายมหาชน (Public Law)
- สาขาวิชาเอกกฎหมายธุรกิจและการค้าระหว่างประเทศ (International Business and Trade Law)
- สาขาวิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา (Criminal Law and Criminal Justice Administration)
สาขาวิชาเอกที่จะเปิดในอนาคต
- สาขาวิชาเอกกฎหมายระหว่างประเทศและประชาคมอาเซียน (International Law and ASEAN Community)
- สาขาวิชาเอกกฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Natural Resources and Environmental Law)
ปรัชญาของหลักสูตร
มุ่งผลิตมหาบัณฑิตในสาขานิติศาสตร์ที่มีความรู้ความสามารถสูง มีคุณธรรม มีความเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย สามารถคิด วิเคราะห์ วินิจฉัยกฎหมาย และใช่กฎหมายเพื่อประกอบอาชีพ ผดุงความยุติธรรมของสังคม และเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ
โครงสร้างหลักสูตร
หมวดวิชา | หลักสูตร แผน ก2 | หลักสูตร แผน ข |
1. หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน | ไม่นับหน่วยกิต | ไม่นับหน่วยกิต |
2. หมวดวิชาหลัก | 9 หน่วยกิต | 9 หน่วยกิต |
3. หมวดวิชาเอก | 15 หน่วยกิต | 15 หน่วยกิต |
4. หมวดวิชาเลือก | 3 หน่วยกิต | 12 หน่วยกิต |
5. วิชาการค้นคว้าอิสระ | – | 3 หน่วยกิต |
6. วิทยานิพนธ์ | 12 หน่วยกิต | – |
7. การสอบประมวลความรู้ | – | โดยสอบข้อเขียน |
รวม | 39 หน่วยกิต | 39 หน่วยกิต |
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (Expected Learning Outcomes : ELO)
ELO 1 | ใช้กฎหมายภายใต้หลักนิติธรรมเพื่อการพัฒนาสังคมอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน |
ELO 2 | เข้าใจและวิเคราะห์เปรียบเทียบ หลักปรัชญา แนวคิด ทฤษฎีทางกฎหมาย และแนวคำพิพากษาของศาลไทย และศาลต่างประเทศ |
ELO 3 | เข้าใจและประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางกฎหมาย ให้สอดคล้องกับบริบททางสังคมได้อย่างถูกต้องตามหลักนิติวิธี |
ELO 4 | บูรณาการองค์ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะความเป็นนักนิติศาสตร์เพื่อการพัฒนา |
ELO 5 | เสริมสร้างทักษะความเป็นผู้นำ การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้เทคโนโลยี และการเรียนรู้ตลอดชีวิต |
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังจบการศึกษา
- บุคลากรในกระบวนการยุติธรรม อาทิ ตำรวจ อัยการ ผู้พิพากษา
- พนักงานคดีปกครอง
- นิติกร
- นักกฎหมายในภาครัฐและเอกชน
- ทนายความ
- อาจารย์ และนักวิชาการด้านกฎหมายและสังคมศาสตร์
- นักการเมืองและข้าราชการการเมือง
- นักกฎหมายในองค์การระหว่างประเทศและองค์กรพัฒนาเอกชน
- อาชีพอิสระอื่น ๆ
ระบบการจัดการศึกษา
เป็นการศึกษาระบบทวิภาค ปีการศึกษาหนึ่งๆ แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติโดยหนึ่งภาคปกติมีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ และอาจเปิดการศึกษาภาคฤดูร้อนที่กำหนดระยะเวลาและจำนวนหน่วยกิต เทียบเคียงได้กับภาคการศึกษาภาคปกติ
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 (สำหรับนักศึกษาที่เข้าเรียนก่อนภาค 1/2565)
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
นิติศาสตรมหาบัณฑิต (น.ม.)
Master of Laws (LL.M.)
สาขาวิชาเอกและความเชี่ยวชาญเฉพาะหลักสูตร
นิติศาสตรมหาบัณฑิต (น.ม.)
Master of Laws (LL.M.)
สาขาวิชาเอกที่จะเปิดในอนาคต
- สาขาวิชาเอกกฎหมายระหว่างประเทศและประชาคมอาเซียน (International Law and ASEAN Community)
- สาขาวิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา (Criminal Law and Criminal Justice Administration)
- สาขาวิชาเอกกฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Natural Resources and Environmental Law)
ปรัชญาของหลักสูตร
- เพื่อผลิตนักกฎหมายที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเนื้อหากฎหมายภายในและกฎหมายต่างประเทศเพื่อตอบสนองกับความต้องการของสังคมและทิศทางในการพัฒนาประเทศ และตอบสนองตลาดแรงงานอย่างมีคุณภาพ
- พื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ และมีความโดดเด่นในการค้นคว้า และวิจัยในประเด็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศ
- เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่สามารถใช้ความรู้และความชำนาญพิเศษทางกฎหมาย ในการวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในบริบทของสังคมไทย โดยอาศัยความรู้ทางทฤษฎีกฎหมาย และสามารถเสนอแนะแนวทางในการแก้ไข ปรับปรุงและพัฒนากฎหมาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชากฎหมายเฉพาะด้าน และมีทักษะในการใช้ การตีความกฎหมายอย่างถูกต้องและมีคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาล เพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่สังคมและมีทัศนะในการพัฒนาอย่างยั่งยืน
โครงสร้างหลักสูตร
หมวดวิชา | หลักสูตร แผน ก2 | หลักสูตร แผน ข |
1. หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน | ไม่นับหน่วยกิต | ไม่นับหน่วยกิต |
2. หมวดวิชาหลัก | 6 หน่วยกิต | 6 หน่วยกิต |
3. หมวดวิชาเอก | 18 หน่วยกิต | 18 หน่วยกิต |
4. หมวดวิชาเลือก | – | 9 หน่วยกิต |
5. วิชาการค้นคว้าอิสระ | – | 3 หน่วยกิต |
6. วิทยานิพนธ์ | 12 หน่วยกิต | – |
7. การสอบประมวลความรู้ | – | โดยสอบข้อเขียน |
รวม | 36 หน่วยกิต | 36 หน่วยกิต |
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (Expected Learning Outcomes : ELO)
ELO 1 | วิเคราะห์หลักปรัชญา แนวคิด ทฤษฎีทางกฎหมาย และแนวคำพิพากษาของศาลไทย และศาลต่างประเทศ |
ELO 2 | ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางกฎหมาย โดยเข้าใจบริบททางสังคมได้อย่างถูกต้องตามหลักนิติวิธี |
ELO 3 | เสริมสร้างทักษะความเป็นผู้นำ การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้เทคโนโลยี และการเรียนรู้ตลอดชีวิต |
ELO 4 | บูรณาการองค์ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะความเป็นนักนิติศาสตร์เพื่อการพัฒนา |
ELO 5 | ประยุกต์ใช้กฎหมายภายใต้หลักนิติธรรมเพื่อการพัฒนาสังคมอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน |
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังจบการศึกษา
- บุคลากรในกระบวนการยุติธรรม อาทิ ตำรวจ อัยการ ผู้พิพากษา
- พนักงานคดีปกครอง
- นิติกร
- นักกฎหมายในภาครัฐและเอกชน
- ทนายความ
- อาจารย์ และนักวิชาการด้านกฎหมายและสังคมศาสตร์
- นักวิชาชีพในหน่วยงานราชการหรือสถานประกอบการที่มีความรู้ทางกฎหมาย
- นักการเมืองและข้าราชการการเมือง
- นักกฎหมายในองค์การระหว่างประเทศและองค์กรพัฒนาเอกชน
ระบบการจัดการศึกษา
เป็นการศึกษาระบบทวิภาค ปีการศึกษาหนึ่งๆ แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติโดยหนึ่งภาคปกติมีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ และอาจเปิดการศึกษาภาคฤดูร้อนที่กำหนดระยะเวลาและจำนวนหน่วยกิต เทียบเคียงได้กับภาคการศึกษาภาคปกติ
คุณสมบัติ
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางนิติศาสตร์ (นิติศาสตรบัณฑิต) หรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาตรีทางนิติศาสตร์ จากสถาบันการศึกษาของรัฐบาลหรือเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ได้รับการรับรองจากสำนักงาน ก.พ. หรือสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
- มีประสบการณ์ทำงานไม่น้อยกว่า 1 ปี (นับถึงวันสมัคร)
- มีการรับรองจากผู้บังคับบัญชาว่าผู้สมัครได้ทำงานในตำแหน่ง และมีประสบการณ์ทำงานเป็นระยะเวลาตามที่ระบุไว้ในใบสมัครจริง กรณีผู้สมัครประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัวหรือวิชาชีพอิสระ เช่น ทนายความ จะต้องแสดงเอกสารหรือหลักฐานการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพนั้น เช่น หลักฐานการจดทะเบียน หนังสือรับรองนิติบุคคล ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทนายความหรือตั๋วทนายความ เป็นต้น
- สามารถอุทิศเวลาให้กับการศึกษาค้นคว้าตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรได้
- ในกรณีที่นักศึกษาไม่มีผลคะแนนสอบภาษาอังกฤษยื่นในวันสมัครสอบเข้า ศึกษา ต้องมีผลการสอบภาษาอังกฤษ NIDA TEAP หรือ TOEFL หรือ IELTS มาแสดงก่อนการขอสำเร็จการศึกษา
ทุนการศึกษา
- ทุนส่งเสริมการศึกษา (เฉพาะนักศึกษาภาคปกติ)
- 1.1 ทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 1
- ผู้รับทุนจะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษาทั้งหมดตลอดหลักสูตร รวมทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนตัวให้แก่ผู้รับทุนเดือนละ 6,000 บาท
- ผู้รับทุนจะต้องมีผลการศึกษาระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 3.00 และต้องศึกษาใน แผน ก (ทำวิทยานิพนธ์)
- ผู้รับทุนต้องปฏิบัติหน้าที่ในคณะนิติศาสตร์ตามที่ได้รับมอบหมายจำนวน 12 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์
- 1.2 ทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 2
- ผู้รับทุนจะได้รับการยกเว้นค่าหน่วยกิตให้แก่ผู้รับทุนตลอดหลักสูตร
- ผู้รับทุนจะต้องมีผลการศึกษาในระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 3.00
- ผู้รับทุนต้องปฏิบัติหน้าที่ในคณะนิติศาสตร์ตามที่ได้รับมอบหมายจำนวน 6 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์
- 1.3 ทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 3
- ผู้รับทุนจะได้รับการยกเว้นค่าหน่วยกิตจำนวนกึ่งหนึ่งให้แก่ผู้รับทุนตลอดหลักสูตร
- ผู้รับทุนจะต้องมีผลการศึกษาในระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 2.75
- ผู้รับทุนต้องปฏิบัติหน้าที่ในคณะนิติศาสตร์ตามที่ได้รับมอบหมายจำนวน 6 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์
- 1.1 ทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 1
- ทุนยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษา
- มีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยนักศึกษาที่มีความจำเป็นทางการเงิน
- การยกเว้นค่าหน่วยกิตของรายวิชาตามหลักสูตร (เฉพาะภาคการศึกษาที่ได้รับทุน) ซึ่งคณะกรรมการจะพิจารณาคัดเลือกพรอมกันปีละ 2 ครั้ง ก่อนการลงทะเบียนประจำภาค 1 และภาค 2
- ผู้รับทุนต้องปฏิบัติหน้าที่ในคณะนิติศาสตร์ตามที่ได้รับมอบหมายจำนวน 6 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์
- ทุนสนับสนุนการวิจัย
- มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการทําวิทยานิพนธ์โดยแยกตามแหล่งเงินเป็น 2 ประเภท คือ
- 3.1 ทุนสนับสนุนการวิจัยจากเงินรายได้ของสถาบัน
- 3.2 ทุนสนับสนุนการวิจัยจากเงินงบประมาณแผนดิน
นักศึกษาผู้สนใจสามารถขอรับใบสมัครเพื่อขอรับทุน โดยยื่นใบสมัครพร้อมทั้งหลักฐานได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของคณะนิติศาสตร์ อาคารบุญชนะ อัตถากร ชั้น 5