GSL
หลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายเพื่อการบริหารMaster of Arts (Law for Management)
ศศ.ม.
Master of Arts (Law for Management)
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายเพื่อการบริหาร
- หลักสูตรกฎหมายสำหรับผู้ที่ไม่ได้จบกฎหมายมาโดยตรง
- ได้รับการรับรองหลักสูตร AUN-QA (Asean University Network Quality Assurance)
- เรียนเฉพาะวันเสาร์- วันอาทิตย์
- สอนโดยคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิมากประสบการณ์
- ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรประมาณ 224,700.- บาท
- เปิดรับสมัคร รุ่นที่ 15 ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 16 เมษายน 2568
เกี่ยวกับหลักสูตร
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (กฎหมายเพื่อการบริหาร)
Master of Arts (Law for Management)
- ศศ.ม. (กฎหมายเพื่อการบริหาร)
- M.A. (Law for Management)
ปรัชญาของหลักสูตร
มุ่งผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจทางด้านกฎหมายสามารถใช้องค์ความรู้ทางกฎหมายในการบริหารงานอย่างมีคุณธรรมถูกต้องตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อประโยชน์สังคมและประเทศชาติ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อผลิตบัณฑิตให้เป็นนักบริหารที่มีความรู้รอบด้านกฎหมาย สามารถใช้องค์ความรู้ทางกฎหมายในการบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีคุณธรรมถูกต้องตามหลักธรรมาภิบาล
- เพื่อให้บัณฑิตสามารถบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านกฎหมายและการบริหาร นำความรู้ทางกฎหมายมาปรับใช้กับการบริหารงานและการประกอบอาชีพต่าง ๆ ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน
- เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการบริหาร สามารถปรับใช้ความรู้ทางกฎหมายให้มีความสามารถในเชิงแข่งขัน เพื่อประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ
- เพื่อให้บัณฑิตมีความเชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะทางสำหรับนักบริหารภาครัฐและภาคเอกชน
ระบบการจัดการศึกษา
เป็นการศึกษาระบบทวิภาค ปีการศึกษาหนึ่ง ๆ แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ โดยหนึ่งภาคปกติมีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ และอาจเปิดภาคการศึกษาภาคฤดูร้อนที่กำหนดระยะเวลาและจำนวนหน่วยกิต เทียบเคียงได้กับภาคการศึกษาภาคปกติ
โครงสร้างหลักสูตร
หมวดวิชา | หลักสูตร แผน ก แบบ ก2 | หลักสูตรแผน ข |
1. หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน | ไม่นับหน่วยกิต | ไม่นับหน่วยกิต |
2. หมวดวิชาพื้นฐาน | 6 หน่วยกิต | 6 หน่วยกิต |
3. หมวดวิชาหลัก | 18 หน่วยกิต | 18 หน่วยกิต |
4. หมวดวิชาเอก | – | 9 หน่วยกิต |
5. วิชาการค้นคว้าอิสระ | – | 3 หน่วยกิต |
6. วิทยานิพนธ์ | 12 หน่วยกิต | – |
7. การสอบประมวลความรู้ | – | โดยสอบข้อเขียน |
รวม | 36 หน่วยกิต | 36 หน่วยกิต |
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELO)
ELOs | เนื้อหาการกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง |
ELO 1 | จดจำและอธิบายแนวคิดพื้นฐานทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารองค์กร และสามารถใช้กฎหมายได้อย่างถูกต้องในบริบทต่าง ๆ |
ELO 2 | แก้ปัญหาในการบริหารองค์กร ด้วยการจำแนก เชื่อมโยงความสัมพันธ์ และบูรณาการแนวคิดพื้นฐานทางกฎหมายกับศาสตร์อื่นเพื่อการพัฒนา |
ELO 3 | ใช้และตีความกฎหมายเพื่อการบริหารองค์กรภายใต้หลักธรรมาภิบาลและหลักความรับผิดชอบทางสังคม |
ELO 4 | ประเมินคุณค่าจากกรณีศึกษาและตัวอย่างการใช้กฎหมายเพื่อนำเสนอ ริเริ่ม และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่จำเป็นต่อการพัฒนาองค์กร |
ELO 5 | มีภาวะผู้นำที่สามารถสื่อสารประเด็นกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการออกแบบนโยบายเพื่อการบริหารองค์กร |
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังจบการศึกษา
- นักบริหารที่ปฏิบัติงานในภาครัฐและภาคเอกชน
- ครู อาจารย์ นักวิชาการด้านกฎหมายหรือสังคมศาสตร์
- บุคลากรในหน่วยงานราชการหรือสถานประกอบการที่มีการใช้ความรู้ทางกฎหมาย
- นักการเมืองและข้าราชการการเมือง
- อาชีพอิสระอื่น ๆ
การรับสมัคร
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาตรีทางใดทางหนึ่งโดยไม่จำกัดสาขาวิชาจากสถาบันการศึกษาของรัฐบาลหรือเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ได้รับการรับรองจากสำนักงาน ก.พ. หรือสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
- มีประสบการณ์ทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี (นับถึงวันสมัคร)
- มีการรับรองจากผู้บังคับบัญชาว่าผู้สมัครได้ทำงานในตำแหน่ง และมีประสบการณ์ทำงานเป็นระยะเวลาตามที่ระบุไว้ในใบสมัครจริง กรณีผู้สมัครประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัวหรือวิชาชีพอิสระจะต้องแสดงเอกสารหรือหลักฐานการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพนั้น เช่น หลักฐานการจดทะเบียน หนังสือรับรองนิติบุคคล เป็นต้น
- สามารถอุทิศเวลาให้กับการศึกษาค้นคว้าตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรได้
ทุนการศึกษา
- ทุนส่งเสริมการศึกษา (เฉพาะนักศึกษาภาคปกติ)
- 1.1 ทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 1
- ผู้รับทุนจะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษาทั้งหมดตลอดหลักสูตร รวมทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนตัวให้แก่ผู้รับทุนเดือนละ 6,000 บาท
- ผู้รับทุนจะต้องมีผลการศึกษาระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 3.00 และต้องศึกษาใน แผน ก (ทำวิทยานิพนธ์)
- ผู้รับทุนต้องปฏิบัติหน้าที่ในคณะนิติศาสตร์ตามที่ได้รับมอบหมายจำนวน 12 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์
- 1.2 ทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 2
- ผู้รับทุนจะได้รับการยกเว้นค่าหน่วยกิตให้แก่ผู้รับทุนตลอดหลักสูตร
- ผู้รับทุนจะต้องมีผลการศึกษาในระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 3.00
- ผู้รับทุนต้องปฏิบัติหน้าที่ในคณะนิติศาสตร์ตามที่ได้รับมอบหมายจำนวน 6 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์
- 1.3 ทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 3
- ผู้รับทุนจะได้รับการยกเว้นค่าหน่วยกิตจำนวนกึ่งหนึ่งให้แก่ผู้รับทุนตลอดหลักสูตร
- ผู้รับทุนจะต้องมีผลการศึกษาในระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 2.75
- ผู้รับทุนต้องปฏิบัติหน้าที่ในคณะนิติศาสตร์ตามที่ได้รับมอบหมายจำนวน 6 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์
- 1.1 ทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 1
- ทุนยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษา
- มีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยนักศึกษาที่มีความจำเป็นทางการเงิน
- การยกเว้นค่าหน่วยกิตของรายวิชาตามหลักสูตร (เฉพาะภาคการศึกษาที่ได้รับทุน) ซึ่งคณะกรรมการจะพิจารณาคัดเลือกพรอมกันปีละ 2 ครั้ง ก่อนการลงทะเบียนประจำภาค 1 และภาค 2
- ผู้รับทุนต้องปฏิบัติหน้าที่ในคณะนิติศาสตร์ตามที่ได้รับมอบหมายจำนวน 6 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์
- ทุนสนับสนุนการวิจัย
- มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการทําวิทยานิพนธ์โดยแยกตามแหล่งเงินเป็น 2 ประเภท คือ
- 3.1 ทุนสนับสนุนการวิจัยจากเงินรายได้ของสถาบัน
- 3.2 ทุนสนับสนุนการวิจัยจากเงินงบประมาณแผนดิน
นักศึกษาผู้สนใจสามารถขอรับใบสมัครเพื่อขอรับทุน โดยยื่นใบสมัครพร้อมทั้งหลักฐานได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของคณะนิติศาสตร์ อาคารบุญชนะ อัตถากร ชั้น 5