หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต
- หลักสูตรได้รับการรับรองจาก ก.ต. ก.อ.
- ได้รับการรับรองหลักสูตร AUN-QA (Asean University Network Quality Assurance)
- เปิดบรรยาย 2 แบบ คือ แบบแผนทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว และแบบแผนเรียนรายวิชาและทำวิทยานิพนธ์
- เรียนเฉพาะวันเสาร์- วันอาทิตย์
- ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรประมาณ 530,000.- บาท
- เปิดรับสมัคร รุ่นที่ 15 ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2568
เกี่ยวกับหลักสูตร
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต (น.ด.)
Doctor of Laws (LL.D.)
ปรัชญาของหลักสูตร
มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตให้มีองค์ความรู้ทางนิติศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาล และความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย รอบรู้ คิด วิเคราะห์ วินิจฉัยกฎหมาย ใช้กฎหมายถูกต้องตามหลักนิติธรรม ผดุงความยุติธรรมให้แก่สังคม รักษาผลประโยชน์ประเทศ และรวมถึงการสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้สอดคล้องกับสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามภาวะเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อผลิตบัณฑิตระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตที่มีองค์ความรู้และความเป็นเลิศทางวิชาการด้านนิติศาสตร์
- เพื่อผลิตนักวิจัยสาขานิติศาสตร์ที่สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้กับศาสตร์การพัฒนา สามารถผลิตงานที่มีคุณค่าทางวิชาการอันเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้พัฒนาประเทศและผดุงความยุติธรรมให้แก่สังคม
- เพื่อผลิตและสร้างนักกฎหมายที่มีจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล
- เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิต การวิจัย และการให้บริการงานวิชาการทางนิติศาสตร์ระดับสูงแก่ประเทศ
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังจบการศึกษา
- อาจารย์ระดับอุดมศึกษา
- นักวิจัย นักวิชาการด้านนิติศาสตร์
- ผู้พิพากษา ตุลาการ พนักงานอัยการ
- ที่ปรึกษากฎหมาย
- อาชีพอื่นๆ
ระบบการจัดการศึกษา
เป็นการศึกษาเต็มเวลา (Full time) ระบบทวิภาค ปีการศึกษาหนึ่ง ประกอบด้วย 2 ภาคการศึกษา โดย 1 ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ อาจเปิดการศึกษาภาคฤดูร้อนที่กำหนดระยะเวลาและจำนวนหน่วยกิตเทียบเคียงได้กับภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์ ทั้งนี้ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
โครงสร้างหลักสูตร
หมวดวิชา | แบบ 1 (1.1) | แบบ 2 (2.1) |
(1) หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน | 0-15 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต) | 6 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต) |
(2) หมวดวิชาหลัก | อาจเรียนได้โดยไม่นับหน่วยกิต | 9 หน่วยกิต |
(3) หมวดวิชาวิจัย | อาจเรียนได้โดยไม่นับหน่วยกิต | 6 หน่วยกิต |
(4) หมวดวิทยานิพนธ์ | 48 หน่วยกิต | 36 หน่วยกิต |
(5) สอบคุณสมบัติ | สอบ (ต้องสอบผ่านภายใน 2 ปี หรือตามประกาศคณะกำหนด) | สอบ (ศึกษารายวิชาครบถ้วน และมีแต้มเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00) |
รวม | 48 หน่วยกิต | 51 หน่วยกิต |
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELO)
การกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง | ทักษะความรู้ทั่วไป | ทักษะความรู้เฉพาะทาง | |
ELO 1 | ประเมินบทบาทและหน้าที่ของกฎหมายเพื่อการพัฒนา และเสนอมุมมองและทางออกทางกฎหมายในการแก้ปัญหา | x | |
ELO 2 | วิเคราะห์ประเด็นข้อกฎหมายโดยประยุกต์และเชื่อมโยงศาสตร์อื่นๆ และองค์ประกอบภายนอกของกฎหมาย เช่น รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐกิจ เพื่อการพัฒนา | x | |
ELO 3 | สื่อสารด้วยวิธีการพูดและการเขียนอย่างมีประสิทธิภาพ | x | |
ELO 4 | นำเสนอข้อถกทางกฎหมายและตรรกะทางกฎหมายอย่างมีหลักการและเหตุผล | x | |
ELO 5 | ทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพในสภาพแวดล้อมหลากหลาย | x | |
ELO 6 | วิเคราะห์และประยุกต์ใช้กฎหมายโดยตระหนักถึงการเพิ่มความยุติธรรมทางสังคมและการพัฒนา | x |
คุณสมบัติ
แบบ 1 (1.1) แบบทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับนิติศาสตรมหาบัณฑิต จากสถาบันการศึกษาของรัฐบาลหรือเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ หรือมีวิทยฐานะที่สภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ให้เข้าเป็นนักศึกษา
- มีความรู้ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่สถาบันฯ กำหนด
- มีความรู้ภาษาอังกฤษตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่หลักสูตรกำหนด
- มีประสบการณ์ในการทำวิจัยเชิงคุณภาพด้านนิติศาสตร์ หรือร่วมทำวิจัยจำนวนไม่น้อยกว่า 1 เรื่อง ในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 หรือเป็นผู้วิจัยหลักของผลงานวิจัย หรือมีตำแหน่งทางวิชาการตั้งแต่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทางนิติศาสตร์ขึ้นไป
- สามารถอุทิศเวลาให้กับการศึกษาค้นคว้าได้เต็มเวลาจนสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
แบบ 2 (2.1) แบบเรียนรายวิชาและทำวิทยานิพนธ์
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับนิติศาสตรมหาบัณฑิต จากสถาบันการศึกษาของรัฐบาลหรือเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ หรือมีวิทยฐานะที่สภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ให้เข้าเป็นนักศึกษา
- มีความรู้ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่สถาบันฯ กำหนด
- สามารถอุทิศเวลาให้กับการศึกษาค้นคว้าได้เต็มเวลาจนสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
แบบ 1 (1.1) แบบทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว
- การสอบคัดเลือกเบื้องต้น โดยพิจารณาจาก
- ใบสมัคร
- คะแนน TOEFL หรือ IELTS
- ผลงานวิจัยเชิงคุณภาพด้านนิติศาสตร์ที่เคยทำหรือร่วมทำ จำนวน 1 เรื่อง
- เค้าโครงวิทยานิพนธ์ โดยผู้สมัครจะต้องเสนอเค้าโครงวิทยานิพนธ์เบื้องต้นให้คณะกรรมการคัดเลือกนักศึกษาพร้อมกับใบสมัคร
- การสอบสัมภาษณ์ โดยคณะกรรมการคัดเลือกนักศึกษา
แบบ 2 (2.1) แบบเรียนรายวิชาและทำวิทยานิพนธ์
- การสอบคัดเลือกเบื้องต้น โดยพิจารณาจาก
- ใบสมัคร
- คะแนน TOEFL หรือ IELTS
- ผลงานวิชาการทางนิติศาสตร์ เช่น บทความ จำนวน 1 เรื่อง (ถ้ามี)
- เค้าโครงวิทยานิพนธ์ โดยผู้สมัครจะต้องเสนอเค้าโครงวิทยานิพนธ์เบื้องต้นให้คณะกรรมการคัดเลือกนักศึกษาพร้อมกับใบสมัคร
- การสอบสัมภาษณ์ โดยคณะกรรมการคัดเลือกนักศึกษา
รายวิชา
แบบแผน 1 (1.1) ทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว
- นด 4000 การเตรียมความพร้อมด้านภาษาต่างประเทศเพื่อการวิจัยทางนิติศาสตร์
- นด 4001 การเตรียมความพร้อมด้านการศึกษากฎหมายกับการพัฒนาขั้นสูง
- นด 4002 การเตรียมความพร้อมด้านทักษะการวิจัยทางนิติศาสตร์ขั้นสูง
- นด 9900 วิทยานิพนธ์ แบบ 1 (1.1)
แบบแผน 2 (2.1) แบบเรียนรายวิชาและทำวิทยานิพนธ์
- นด 6000 ภาษาต่างประเทศเพื่อการวิจัยทางนิติศาสตร์
- นด 6001 กฎหมายกับการพัฒนาขั้นสูง
- นด 6002 สัมมนาปัญหาทางนิติศาสตร์ขั้นสูง
- นด 8100 ระเบียบวิธีวิจัยทางนิติศาสตร์ขั้นสูง 1
- นด 8101 ระเบียบวิธีวิจัยทางนิติศาสตร์ขั้นสูง 2
- นด 9901 วิทยานิพนธ์ แบบ 2 (2.1)
ทุนการศึกษา
ทุนสนับสนุนการวิจัย
มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการทําวิทยานิพนธ์โดยแยกตามแหล่งเงินเป็น 2 ประเภท คือ
- ทุนสนับสนุนการวิจัยจากเงินรายได้ของสถาบัน
- ทุนสนับสนุนการวิจัยจากเงินงบประมาณแผ่นดิน
นักศึกษาผู้สนใจสามารถขอรับใบสมัครเพื่อขอรับทุน โดยยื่นใบสมัครพร้อมทั้งหลักฐานได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของคณะนิติศาสตร์ อาคารบุญชนะ อัตถากร ชั้น 5