คำแนะนำสำหรับผู้เขียน
1. ใช้รูปแบบการเขียนและภาษาที่เหมาะสมกับลักษณะของบทความทางวิชาการอันเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ไม่มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น และมีการตรวจทานต้นฉบับทั้งในส่วนของรูปแบบการเขียน รูปแบบการอ้างอิง การสะกดคำ และไวยากรณ์แล้วเป็นอย่างดี
2. จัดพิมพ์บทความด้วยโปรแกรม Microsoft Word โดยใช้ขนาดกระดาษ A4 แบบหน้าเดียว ความยาวไม่เกิน 25 หน้า เว้นระยะห่างจากขอบบน 1 นิ้ว ขอบซ้าย 1 นิ้ว ขอบขวา 1 นิ้ว และขอบล่าง 1 นิ้ว ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK เว้นวรรคบรรทัดเดียว (Single-line spacing) โดยผู้เขียนสามารถใช้แบบฟอร์มของวารสารบัณฑิตกฎหมายเพื่อการพัฒนา ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ที่ Law for Development Graduate Journal
3. องค์ประกอบของบทความ ต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
3.1 ชื่อเรื่อง (Title) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 18 พอยต์ ตัวหนา
3.2 บทคัดย่อ (Abstract) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยอธิบายเป็นเรียงความย่อหน้าเดียวที่มีใจความครบถ้วน อันประกอบด้วย วัตถุประสงค์ ความสำคัญของบทความ และบทสรุป ชื่อหัวข้อของบทคัดย่อ ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 16 พอยต์ ตัวหนา โดยภาษาไทยใช้คำว่า “บทคัดย่อ” และภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Abstract”
3.3 คำสำคัญ (Keyword) จำนวน 3-5 คำ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ชื่อหัวข้อของคำสำคัญ ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 16 พอยต์ ตัวหนา โดยภาษาไทยใช้คำว่า “คำสำคัญ” และภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Keywords”
3.4 บทนำ (Introduction) ชื่อหัวข้อของบทนำ ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 16 พอยต์ ตัวหนา โดยภาษาไทยใช้คำว่า “บทนำ” และภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Introduction”
3.5 เนื้อหา ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 16 พอยต์
3.6 บทสรุป ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 16 พอยต์
4. รูปแบบการอ้างอิง (เชิงอรรถ) วิธีการอ้างอิงประยุกต์จากแบบ The Oxford Standard for Citation of Legal Authorities (OSCOLA) ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 14 พอยต์ ยกตัวอย่างดังต่อไปนี้
หนังสือ
- ภาษาไทย
ชื่อผู้แต่ง,ชื่อหนังสือ (พิมพ์ครั้งที่, สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์) เลขหน้าที่อ้างถึง.
บรรเจิด สิงคะเนติ, หลักกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมฝ่ายปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 5, สำนักพิมพ์วิญญูชน 2560) 123.
- ภาษาอังกฤษ
author, title (additional information, edition, publisher year) page number.
Andrew Burrows, Remedies for Torts and Breach of Contract (3rd edn, OUP 2004) 317.
บทความ
- ภาษาไทย
ชื่อผู้แต่งบทความ, ‘ชื่อบทความ’ (ปีที่พิมพ์) ฉบับที่ ชื่อวารสาร หน้าแรกของบทความ, เลขหน้าที่อ้างถึง.
มนตรี เกิดมีมูล, ‘ความพร้อมของข้าราชการไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน’ (2560) 57 วารสารพัฒนบริหารศาสตร์ 152, 158-159.
- ภาษาอังกฤษ
author, ‘title’(year) Volume No. Journal’s Name or Abbreviation first page, referred page(s).
Alison L Young, ‘In Defence of Due Deference’ (2009) 72 MLR 554, 556-557.
บทความจากหนังสือรวบรวมบทความ
- ภาษาไทย
ชื่อผู้แต่งบทความ,‘ชื่อบทความ’ ใน ชื่อผู้รวบรวมบทความ, ชื่อหนังสือ (พิมพ์ครั้งที่, สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์)
เลขหน้าที่อ้างถึง.
สุจิตต์ วงษ์เทศ, ‘ประวัติศาสตร์ไทยเป็นส่วนหนึ่งที่แยกไม่ได้ของประวัติศาสตร์สุวรรณภูมิในอาเซียน’ ใน พิพัฒน์ กระแจะจันทร์, ยุคมืดของประวัติศาสตร์ไทย หลังบายน พุทธเถรวาท การเข้ามาของคนไท (สำนักพิมพ์มติชน 2559) 123.
- ภาษาอังกฤษ
author, ‘title’ in editor (ed) book title (additional information, publisher year)/ referred page(s).
Justine Pila, ‘The Value of Authorship in the Digital Environment’ in William H Dutton and Paul W Jeffreys (eds), World Wide Research: Reshaping the Sciences and Humanities in the Century of Information (MIT Press 2010) 23.
วิทยานิพนธ์
- ภาษาไทย
ชื่อผู้แต่งวิทยานิพนธ์, ‘ชื่อวิทยานิพนธ์’(วิทยานิพนธ์ปริญญาโท-เอก, ชื่อมหาวิทยาลัย ปีที่สำเร็จการศึกษา).
นัทมน คงเจริญ, ‘การใช้กฎหมายเพื่อการอนุรักษ์ช้างในประเทศไทย’ (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2538).
- ภาษาอังกฤษ
Author, ‘title’ (type of thesis, university year of completion).
Javan Herberg, ‘Injunctive Relief for Wrongful Termination of Employment’ (DPhil thesis, University of Oxford 1989).
เว็บไซต์
- ภาษาไทย
ชื่อผู้แต่ง, ‘ชื่อข้อความที่อ้าง’ (แหล่งที่มา, วันเดือนปี ที่ลงบทความ) <ชื่อเว็บไซต์> สืบค้นวันที่ วัน เดือน ปี.
ปรีชา สุวรรณทัต, ‘Government Shutdown /การเมืองเรื่องการงบประมาณของสหรัฐ’ (แนวหน้า, 9 กุมภาพันธ์ 2561) <http://www.naewna.com/politic/columnist/33994> สืบค้นวันที่ 18 มิถุนายน 2561.
- ภาษาอังกฤษ
Author, ‘title’ (source, date of publication on the website) <web address> accessed Day Month Year.
Sarah Cole, ‘Virtual Friend Fires Employee’ (Naked Law, 1 May 2009) <www.nakedlaw.com/2009/05/index.html> accessed 19 November 2009.
หนังสือพิมพ์
- ภาษาไทย
ชื่อผู้แต่ง, ‘ชื่อบทความในหนังสือพิมพ์’ ชื่อหนังสือพิมพ์ (เมืองที่พิมพ์, วันที่เผยแพร่) <ชื่อเว็บไซต์> สืบค้นวันที่.
สุจิตต์ วงษ์เทศ, ‘พลังสร้างสรรค์ ถูกทำให้ฝ่อ ด้วยพลังของความเป็นไทย’ หนังสือพิมพ์มติชน, (กรุงเทพมหานคร, 21 พฤษภาคม 2561) <https://www.matichon.co.th/article/news_969609> สืบค้นวันที่ 18 มิถุนายน 2561.
- ภาษาอังกฤษ
Author,/‘title’/(the name of the newspaper/date of publication on the website) <web address> the date of most recent access
Jane Croft, ‘Supreme Court Warns on Quality’ Financial Times (London, 1 July 2010) accessed 3 July 2019.
การอ้างซ้ำ
- ในกรณีที่ไม่มีเชิงอรรถอื่นมาคั่น
1.1 สำหรับเอกสารภาษาไทยให้ใช้ เพิ่งอ้าง
(ก) กรณีอ้างหน้าเดียวกัน
เพิ่งอ้าง
(ข) กรณีหน้าที่อ้างถึงต่างกัน ให้ระบุเลขหน้าไปด้วย
เพิ่งอ้าง 33-35.
1.2 สำหรับเอกสารภาษาอังกฤษให้ใช้ ibid.
(ก) กรณีอ้างหน้าเดียวกัน
Ibid.
(ข) กรณีหน้าที่อ้างถึงต่างกัน ให้ระบุเลขหน้าไปด้วย
ibid 33-35.
2. กรณีการอ้างอิงที่มีมาก่อนและมีเชิงอรรถมาคั่น
2.1 สำหรับเอกสารภาษาไทยให้ใช้
ชื่อผู้แต่ง (‘เชิงอรรถ’ เชิงอรรถที่อ้างอิงถึง) เลขหน้าที่อ้างถึง.
มนตรี เกิดมีมูล (เชิงอรรถ 19) 155.
2.2 สำหรับเอกสารภาษาอังกฤษให้ใช้
Author’ surname, ‘work title’ (n first cited footnote) page number.
Ashworth, ‘Testing Fidelity to Legal Values’ (n 27) 635-37.
5. วิธีการส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ ผู้เขียนสามารถส่งบทความผ่านระบบ ThaiJO (Thai Journal Online) ในรูปแบบของไฟล์ Word โดยทำตามคำแนะนำก่อนส่งบทความเกี่ยวกับการไม่ระบุตัวตนของผู้เขียนตามระบบ Thaijo
6. เงื่อนไขการตีพิมพ์ บทความหรือผลงานวิชาการจะต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่เคยเผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ต้องได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ท่านที่ตรงตามสาขาวิชา โดยเป็นการประเมินแบบลับในลักษณะ double-blinded การพิจารณารับตีพิมพ์บทความขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบรรณาธิการและกองบรรณาธิการ โดยผลการพิจารณาจากกองบรรณาธิการถือเป็นที่สุด
บทความซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์จะต้องได้รับการพิจารณาและรับรองจากอาจารย์ที่ปรึกษาตามแบบฟอร์มก่อนส่งให้กองบรรรณาธิการ