การรับสมัคร ก.ศ.ป. รุ่นที่ 7

ประกาศการรับสมัคร

ประกาศคณะนิติศาสตร์ เรื่อง ผลการพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครเข้าอบรม หลักสูตรประกาศนียบัตรทางกฎหมายปกครองและคดีปกครองชั้นสูง รุ่นที่ 7 ครั้งที่ 3 (เพิ่มเติม)  

ประกาศคณะนิติศาสตร์ เรื่อง ผลการพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครเข้าอบรม หลักสูตรประกาศนียบัตรทางกฎหมายปกครองและคดีปกครองชั้นสูง รุ่นที่ 7 ครั้งที่ 3

ประกาศคณะนิติศาสตร์ เรื่อง ผลการพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครเข้าอบรม หลักสูตรประกาศนียบัตรทางกฎหมายปกครองและคดีปกครองชั้นสูง รุ่นที่ 7


เปิดรับสมัครผู้สำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิตหรือเทียบเท่า-สมัครฟรี !

สมัครได้ตั้งแต่บัดนี้ถึง วันอังคารที่ 31 มกราคม 2566

   >>> กำหนดการโครงการอบรม ก.ศป. NIDA รุ่นที่ 7



ดาวน์โหลดใบสมัครและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

>>>ใบสมัคร ก.ศป. (NIDA) รุ่นที่ 7

>>>หลักสูตร ก.ศป (NIDA) รุ่นที่ 7






กำหนดการอบรม ก.ศป. รุ่นที่ 7


ภาคต้น : ภาคกฎหมายปกครองหลักทั่วไป

วันที่

กิจกรรม

วันที่ 26 มกราคม – 20 กุมภาพันธ์ 2566

เปิดรับสมัคร ครั้งที่ 3 (เฉพาะผู้มีคุณวุฒินิติศาสตรบัณฑิตหรือเทียบเท่า)

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการทดสอบ

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566

สอบสัมภาษณ์ (ออนไลน์)

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566

ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเข้ารับการอบรม

วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2566

ปฐมนิเทศ

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง

 วันที่ 1 เมษายน  2566

  ผู้เข้าอบรมลงทะเบียนและชำระค่าธรรมเนียมภาคต้น 35,000 บาท* 

(อัตราค่าธรรมเนียมก่อนหักส่วนลด)

 

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ ถึง 

วันที่ 16 กรกฎาคม 2566

อบรมหมวด 1 ถึงหมวด 3

หมวด 1 หลักการพื้นฐานของกฎหมายมหาชน (36 ชั่วโมง) 

หมวด 2 กฎหมายปกครองภาคทั่วไป (138 ชั่วโมง)

หมวด 3 กฎหมายว่าระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (15 ชั่วโมง)

วันที่ 5 -6 สิงหาคม 2566

สอบวัดผลการเรียนรู้ประจำภาคต้น

กำหนดภายหลัง

กิจกรรมศึกษาดูงาน


ภาคปลาย : คดีปกครอง

วันที่

กิจกรรม

วันที่ 1 สิงหาคม 2566 ถึง

วันที่ 31 สิงหาคม 2566

ผู้เข้าอบรมลงทะเบียนและชำระค่าธรรมเนียมภาคปลาย 34,000 บาท*

(อัตราค่าธรรมเนียมก่อนหักส่วนลด)

กำหนดภายหลัง

กิจกรรมศึกษาดูงาน

 

วันที่ 19 สิงหาคม 2566 ถึง

วันที่ 18 ธันวาคม 2566

อบรมหมวด 4 ถึงหมวด 6

หมวด 4 กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง (63 ชั่วโมง)
หมวด 5 คดีปกครองเฉพาะด้าน (42 ชั่วโมง)

หมวด 6 ฝึกภาคปฏิบัติ (33 ชั่วโมง)

เดือนธันวาคม 2566

สอบวัดผลการเรียนรู้ประจำภาคปลาย


กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม


คุณสมบัติ

1. เป็นผู้สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชาทั้งในและต่างประเทศจากสถาบันการศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ โดยผู้ที่ไม่ได้สำเร็จการศึกษาสาขานิติศาสตร์จะต้องอบรมความรู้พื้นฐานกฎหมายเพิ่มเติม 30 ชั่วโมง 

2. สอบผ่านการทดสอบข้อเขียนความรู้เบื้องต้นด้านกฎหมายมหาชน และการสอบสัมภาษณ์ รวมทั้งมีความพร้อมในการศึกษา 

3. มีความตั้งใจและสามารถเข้ารับการอบรมอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องได้ตลอดการศึกษา 

4. ไม่เป็นผู้ที่มีความประพฤติเสื่อมเสีย 

5. สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมในหลักสูตรไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับการปฏิบัติงาน

เอกสารและหลักฐานการสมัคร

1) ใบสมัครที่กรอกข้อความครบถ้วนสมบูรณ์ รูปถ่ายหน้าตรงขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป

2) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ และสำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี) และรับรองสำเนาถูกต้องจำนวน 1 ฉบับ

3) สำเนาใบปริญญาบัตรหรือสำเนาใบแสดงผลการเรียนระดับปริญญาตรีจำนวน 1 ฉบับ

ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร

ฟรีค่าสมัคร                              500 บาท

ฟรีปรับพื้นฐาน                        5,000 บาท

ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร*            69,000 บาท

*รวมค่าใช้จ่ายในการศึกษาดูงานแล้ว

โดยแบ่งจ่ายเป็น 2 ภาค ดังนี้

     ภาคต้น**         35,000 บาท
     ภาคปลาย**      
34,000 บาท

    **สามารถแบ่งจ่ายภาคละ 2 งวด


     สำหรับผู้เข้ารับการอบรมที่ไม่มีวุฒิการศึกษานิติศาสตรบัณฑิตหรือเทียบเท่าปริญญาตรีทางนิติศาสตร์
ต้องเข้ารับการอบรมเพิ่มเติมก่อนเริ่มการอบรมตามหลักสูตร จำนวน 30 ชั่วโมง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 


     สำหรับเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจทุกประเภท และนักศึกษาเก่า - ปัจจุบัน หรือบุคลากรสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หลักสูตรฯ จัดสรรส่วนลด 4,000 บาท (ภาคละ 2,000 บาท )


     ค่าลงทะเบียน รวมค่าใช้จ่ายในการศึกษาดูงาน ค่าอาหารกลางวัน ค่าอาหารว่าง เครื่องดื่ม เอกสารประกอบการอบรมตลอดระยะเวลาอบรม และกิจกรรมนอกสถานที่แล้ว

จำนวนผู้เข้าอบรม 

ผู้เข้าอบรมห้องละไม่เกิน 50 คน

การทดสอบเพื่อเข้ารับการอบรม 

1) ผู้สมัครเข้ารับการอบรมจบการศึกษาในระดับปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาในประเทศหรือต่างประเทศที่ ก.พ. รับรอง

2) สำหรับผู้เข้ารับการอบรมที่ไม่มีวุฒิการศึกษานิติศาสตรบัณฑิตหรือเทียบเท่าปริญญาตรีทางนิติศาสตร์
   ต้องผ่านการอบรมเสริมพื้นฐานก่อนเริ่มการอบรมตามหลักสูตร จำนวน 30 ชั่วโมง

3) ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องผ่านการทดสอบข้อเขียนและการสอบสัมภาษณ์ โดยมีรายละเอียดดังนี้

     3.1 คัดเลือกด้วยวิธีการสอบสัมภาษณ์ โดยพิจารณาจากความรู้ ความสามารถและความพร้อมในการเข้ารับการอบรม ประกอบกับประวัติการศึกษาและการทำงาน