นิติศาสตรมหาบัณฑิต (น.ม.)
Master of Laws (LL.M.)
1. สาขากฎหมายวิชาเอกกฎหมายเอกชน (Private Law)
2. สาขาวิชาเอกกฎหมายมหาชน (Public Law)
3. สาขาวิชาเอกกฎหมายธุรกิจและการค้าระหว่างประเทศ (International Business and Trade Law)
4. สาขาวิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา (Criminal Law and Criminal Justice Administration)
1. สาขาวิชาเอกกฎหมายระหว่างประเทศและประชาคมอาเซียน (International Law and ASEAN Community)
2. สาขาวิชาเอกกฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Natural Resources and Environmental Law)
มุ่งผลิตมหาบัณฑิตในสาขานิติศาสตร์ที่มีความรู้ความสามารถสูง มีคุณธรรม มีความเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย สามารถคิด วิเคราะห์ วินิจฉัยกฎหมาย และใช่กฎหมายเพื่อประกอบอาชีพ ผดุงความยุติธรรมของสังคม และเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ
1. เพื่อผลิตนักกฎหมายที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเนื้อหากฎหมายภายในและกฎหมายต่างประเทศเพื่อตอบสนองกับความต้องการของสังคมและทิศทางในการพัฒนาประเทศ และตอบสนองตลาดแรงงานอย่างมีคุณภาพ
2. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ และมีความโดดเด่นในการค้นคว้า และวิจัยในประเด็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศ
3. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่สามารถใช้ความรู้และความชำนาญพิเศษทางกฎหมาย ในการวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในบริบทของสังคมไทย โดยอาศัยความรู้ทางทฤษฎีกฎหมาย และสามารถเสนอแนะแนวทางในการแก้ไข ปรับปรุงและพัฒนากฎหมาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชากฎหมายเฉพาะด้าน และมีทักษะในการใช้ การตีความกฎหมายอย่างถูกต้องและมีคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาล เพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่สังคมและมีทัศนะในการพัฒนาอย่างยั่งยืน
1. บุคลากรในกระบวนการยุติธรรม อาทิ ตำรวจ อัยการ ผู้พิพากษา
2. พนักงานคดีปกครอง
3. นิติกร
4. นักกฎหมายในภาครัฐและเอกชน
5. ทนายความ
6. อาจารย์ และนักวิชาการด้านกฎหมายและสังคมศาสตร์
7. นักการเมืองและข้าราชการการเมือง
8. นักกฎหมายในองค์การระหว่างประเทศและองค์กรพัฒนาเอกชน
9. อาชีพอิสระอื่น ๆ
เป็นการศึกษาระบบทวิภาค ปีการศึกษาหนึ่งๆ แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติโดยหนึ่งภาคปกติมีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ และอาจเปิดการศึกษาภาคฤดูร้อนที่กำหนดระยะเวลาและจำนวนหน่วยกิต เทียบเคียงได้กับภาคการศึกษาภาคปกติ
หมวดวิชา | หลักสูตร แผน ก2 | หลักสูตร แผน ข |
---|---|---|
1. หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน | ไม่นับหน่วยกิต | ไม่นับหน่วยกิต |
2. หมวดวิชาหลัก | 9 หน่วยกิต | 9 หน่วยกิต |
3. หมวดวิชาเอก | 15 หน่วยกิต | 15 หน่วยกิต |
4. หมวดวิชาเลือก | 3 หน่วยกิต | 12 หน่วยกิต |
5. วิชาการค้นคว้าอิสระ | - | 3 หน่วยกิต |
6. วิทยานิพนธ์ | 12 หน่วยกิต | - |
7. การสอบประมวลความรู้ | - | โดยสอบข้อเขียน |
รวม | 39 หน่วยกิต | 39 หน่วยกิต |
นิติศาสตรมหาบัณฑิต (น.ม.)
Master of Laws (LL.M.)
1. สาขาวิชาเอกกฎหมายเพื่อวิชาชีพกฎหมาย (Law for Legal Professions)
2. สาขาวิชาเอกกฎหมายมหาชน (Public Law)
3. สาขาวิชาเอกกฎหมายธุรกิจและการค้าระหว่างประเทศ (International Business and Trade Law)
1. สาขาวิชาเอกกฎหมายระหว่างประเทศและประชาคมอาเซียน (International Law and ASEAN Community)
2. สาขาวิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา (Criminal Law and Criminal Justice Administration)
3. สาขาวิชาเอกกฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Natural Resources and Environmental Law)
มุ่งผลิตมหาบัณฑิตในสาขานิติศาสตร์ที่มีความรู้ความสามารถสูง มีคุณธรรม มีความเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย สามารถคิด วิเคราะห์ วินิจฉัยกฎหมาย และใช่กฎหมายเพื่อประกอบอาชีพ ผดุงความยุติธรรมของสังคม และเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ
1. เพื่อผลิตนักกฎหมายที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเนื้อหากฎหมายภายในและกฎหมายต่างประเทศเพื่อตอบสนองกับความต้องการของสังคมและทิศทางในการพัฒนาประเทศ และตอบสนองตลาดแรงงานอย่างมีคุณภาพ
2. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ และมีความโดดเด่นในการค้นคว้า และวิจัยในประเด็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศ
3. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่สามารถใช้ความรู้และความชำนาญพิเศษทางกฎหมาย ในการวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในบริบทของสังคมไทย โดยอาศัยความรู้ทางทฤษฎีกฎหมาย และสามารถเสนอแนะแนวทางในการแก้ไข ปรับปรุงและพัฒนากฎหมาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชากฎหมายเฉพาะด้าน และมีทักษะในการใช้ การตีความกฎหมายอย่างถูกต้องและมีคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาล เพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่สังคมและมีทัศนะในการพัฒนาอย่างยั่งยืน
1. บุคลากรในกระบวนการยุติธรรม อาทิ ตำรวจ อัยการ ผู้พิพากษา
2. พนักงานคดีปกครอง
3. นิติกร
4. นักกฎหมายในภาครัฐและเอกชน
5. ทนายความ
6. อาจารย์ และนักวิชาการด้านกฎหมายและสังคมศาสตร์
7. นักวิชาชีพในหน่วยงานราชการหรือสถานประกอบการที่มีความรู้ทางกฎหมาย
8. นักการเมืองและข้าราชการการเมือง
9. นักกฎหมายในองค์การระหว่างประเทศและองค์กรพัฒนาเอกชน
เป็นการศึกษาระบบทวิภาค ปีการศึกษาหนึ่งๆ แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติโดยหนึ่งภาคปกติมีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ และอาจเปิดการศึกษาภาคฤดูร้อนที่กำหนดระยะเวลาและจำนวนหน่วยกิต เทียบเคียงได้กับภาคการศึกษาภาคปกติ
หมวดวิชา | หลักสูตร แผน ก2 | หลักสูตร แผน ข |
---|---|---|
1. หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน | ไม่นับหน่วยกิต | ไม่นับหน่วยกิต |
2. หมวดวิชาหลัก | 6 หน่วยกิต | 6 หน่วยกิต |
3. หมวดวิชาเอก | 18 หน่วยกิต | 18 หน่วยกิต |
4. หมวดวิชาเลือก | - | 9 หน่วยกิต |
5. วิชาการค้นคว้าอิสระ | - | 3 หน่วยกิต |
6. วิทยานิพนธ์ | 12 หน่วยกิต | - |
7. การสอบประมวลความรู้ | - | โดยสอบข้อเขียน |
รวม | 36 หน่วยกิต | 36 หน่วยกิต |
หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)